วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เนื้อเริ่องย่อ

เนื้อเรื่องย่อ
                     
                     นายประพันธ์   ประยูรสิริ  เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ  เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดิน  ที่ทางกลับก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ   นาย ประเสริฐ  สุวัฒน์   ที่ยังคงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ  เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว  โดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ  ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
                      การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้    ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเช้าตามเส้นสายซึ่งเข้าไม่ชอบ  แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้   และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ   แม่กิมเน้ย    ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ   ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป   ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส  และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
                        ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขความเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงสาวชื่อ  อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
                         ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก   หลังแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน    ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ  พระยาตระเวนนคร  ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถุง 7 คน  ในที่สุดประพันธ์และอุไรจึงหย่าขาดกัน

                          ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวที่ชื่อ ศรีสมาน ละรู้สึกพึงพอใจในตัวเธอมาก   ทั้งนี้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็ชอบพอกัน  ประพันธ์จึงหวังว่าจะได้แต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมาย

.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร

.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้

ลักษณะคำประพันธ์

    ลักษณะคำประพันธ์                     หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้

                    ๑) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
                    ๒) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก
                    ๓) คำลงท้าย จะใช้คำว่า จากเพื่อน..... แต่เพื่อน.....” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
                    ๔) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ ประพันธ์
                  

                    ๕) ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  

ที่มาของเรื่อง

ที่มาของเรื่อง

                    หัวใจชายหนุ่ม    เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยใช้พระนามแฝงว่า   รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
                    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก) ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์ โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนำนวนิยายเรื่องนี้

     
               

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หัวใจชายหนุ่ม

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
๑.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
๒.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
๓.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 ๑.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0 มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ.ไว้                                  
 ๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
 อ่านเพิ่มเติม